HomeAbout usNewsPaperPresentationLibraryGraduate School at KU
 
 
 
 
ความภาคภูมิใจของศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก
จากงานวิจัยประยุกต์.....จนพัฒนาเมืองป่าตองเป็นพื้นที่ต้นแบบการจัดการภัยพิบัติของไทย
 
          วันลดภัยพิบัติสากล United Nations International Strategy for Disaster Reduction (UNISDR), the Asian Disaster Preparedness Center (ADPC), UNESCAP and UN HABITAT ได้ร่วมจัดงาน “World Disaster Reduction Campaign on Making Cities Resilent, “My City is Getting Ready” และมอบรางวัลเมืองต้นแบบ (Role Model Cities) ในประเทศไทยให้กับเทศบาลเมืองป่าตอง จังหวัดภูเก็ต เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2553 ที่ผ่านมา

รองนายกเทศมนตรีป่าตอง และ

ผศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ (หัวหน้าศูนย์วิจัยฯ)

 
          การรับรางวัลเมืองต้นแบบในด้านการจัดการภัยพิบัติโดยเฉพาะภัยดินถล่ม ของเทศบาลป่าตองในครั้งนี้ ศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ถือได้มีส่วนร่วมสำคัญในรางวัลดังกล่าวจากการศึกษาวิจัยด้านดินถล่มในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต พร้อมทั้งความร่วมมือกับเทศบาลป่าตอง ในการวิจัยและถ่ายทอดความรู้เพื่อสนับสนุนให้เกิดการนำการศึกษาไปใช้ในทางปฏิบัติอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลานานมากกว่า 5 ปี

          การวิจัยดินถล่มในจังหวัดภูเก็ต เน้นการวิจัยเพื่อให้เข้าใจพฤติกรรมดินถล่มในพื้นที่ก่อนพัฒนาขบวนการ “การจัดการเตือนภัยดินถล่มอย่างเป็นระบบ” ภายใต้ความร่วมมืออย่างจริงจังจากเทศบาลเมืองป่าตองและจังหวัดภูเก็ตอย่างต่อเนื่องเช่นกัน โดยได้ผลิตผลงานวิจัย ผลงานบริการวิชาการเชิงวิจัยมากกว่า 5 งาน พร้อมทั้งผลิตวิทยานิพนธ์ ระดับปริญญาเอก 1 เรื่อง ปริญญาโท 3 เรื่องและบทความวิจัยกว่า 20 ฉบับ และมุ่งสร้างเครื่องมือโดยปรับจากผลงานวิจัยสำหรับหน่วยงานส่วนท้องถิ่นที่จะนำไปใช้ในทางปฏิบัติ ได้แก่ แผนที่โอกาสเกิดดินถล่ม แผนที่เสี่ยงภัยดินถล่ม แผนที่แสดงค่าน้ำฝนวิกฤติ ระบบเตือนภัยดินถล่มทางไกลอัตโนมัติ โดยอาศัยงบประมาณการวิจัยจากหลายหน่วยงานตามแต่โอกาสอำนวย เช่น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย กรมทรัพยากรธรณีหรือภายใต้ความร่วมมือกับศูนย์เตรียมความพร้อมภัยพิบัติแห่งเอเชีย (ADPC) เป็นต้น
 
การสำรวจพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลในระหว่างดำเนินงานวิจัย
 
          การที่เทศบาลเมืองป่าตองได้รับรางวัลดังกล่าว จึงถือว่าเป็นการร่วมภูมิใจที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่และเข้าไปมีส่วนร่วมสำคัญดังกล่าว ซึ่งงานวิจัยต้องอาศัยความอดทน ในการเก็บข้อมูล การศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมซึ่งเป็นขั้นตอนที่ต้องใช้เวลาค่อนข้างมากและความสำเร็จที่ผ่านมาทำให้มีความภาคภูมิใจและเชื่อมั่นที่จะสานต่อภารกิจด้านการศึกษา การวิจัย การบริการวิชาการ เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประเทศต่อไป